ปวดประจำเดือน ปัญหาของคุณผู้หญิง

การมีประจำเดือนเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของผู้หญิง ซึ่งหมายถึง การเจริญเติบโตทางร่างกายที่พร้อมสำหรับการมีลูกหรือพร้อมที่จะสืบพันธุ์ ประจำเดือนนั้นเกิดจากการสลายตัวของผนังมดลูก ที่เตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนภายหลังการมีเพศสัมพันธ์

อาการปวดประจำเดือน

ปวดบริเวณท้องน้อยหรืออุ้งเช้งกราน อาจรวมไปถึงอวัยวะอื่นๆ เช่น หลัง เอว ก้นกบ ต้นขา

ประเภทของการปวดประจำเดือน

1. การปวดประจำเดือนที่เกิดจากตัวมดลูกเอง

อาการที่พบ
–  ปวดเพียงเล็กน้อยพอรู้สีก (แบบนี้ถือว่าปกติ)
–  ปวดจนผิดปกติเนื่องจากมดลูกบีบตัวมากเกินไป
–  หากปวดกลางรอบเดือน อันเนื่องมาจากการตกไข่ อาจมีอาการปวดน้อยๆหรือปวดมากก็ได้
–  อาจมีอาการไข้ ครั่นเนื้อ ครั่นตัว
–  เต้านมคัดตึง
–  ปวดบริเวณบั้นเอว
–  อารมณ์หงุดหงิด นอนไม่หลับ

สาเหตุการปวดประจำเดือนที่เกิดจากมดลูกเอง
–  เกิดจากความไม่สมดุลย์ของฮอร์โมนเพศหญิงระหว่างรอบเดือน

2. การปวดประจำเดือนที่เกิดจากสาเหตุอื่น

อย่างเช่น โรคผนังมดลูกงอกผิดที่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ปวดประจำเดือนมากๆ
โรคนี้ที่ชอบเรียกกันติดปากว่า “พังผืด” ที่จริงพังผืดเป็นแค่ร่องรอยของโรคนี้เท่านั้น ชื่อของโรคนี้คือ เอ็นโดเมททริโอสิส (ENDOMETRIOSIS) ฝรั่งเรียกกันสั้นๆว่า “เอ็นโด” หรือ โรคผนังมดลูกงอกผิดที่คือผนังในโพรงมดลูกไปงออยู่     ด้านนอกโพรงมดลูก เช่นไปงอกที่รังไข่ ปีกมดลูก ท่อนำไข่ ด้านหลังมดลูก ด้านล่างของมดลูก เส้นเอ็นของมดลูก ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ โดยผนังมดลูกที่งอกผิดที่นี้จะทำหน้าที่ เสมือนมีประจำเดือนเช่นเดียวกันในโพรงมดลูก นั่นคือเมื่อมี    ประจำเดือนมาก็จะมีประจำเดือนออกในช่องท้องด้วย ก็เกิดอาการปวดท้องขึ้นเพราะเหมือนมีเลือดออกในท้อง ต่อไปก็เกิดมีอาการอักเสบตามมา แล้วจะแห้งกลายเป็นแผล ซึ่งมักเรียกกันว่าพังผืด ในที่สุดพังผืดก็จะพันเกาะไปตามอวัยวะที่    เลือดออก คล้ายๆใยแมลงมุม ทำให้อวัยวะต่างๆติดกันแน่นแบบถาวร อาการปวดเช่นนี้ทุกเดือนทำให้มีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ความผิดปกติในกรณีมักจะเป็นอาการปวดแบบฉับพลันทันทีทันใด หรืออาจจะปวดแบบเรื้อรังแล้วปวดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราจะทราบว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากโรคใดต้องอาศัยการวินิจฉัยของแพทย์ เท่านั้น

การรักษาและบรรเทาการปวดประจำเดือน

1. รับประทานอาหารต้านอาการปวดประจำเดือน เช่น ปลาทะเลน้ำลึกเพื่อเพิ่มโอเมก้า 3 ถั่วและธัญพืชต่างๆเพื่อเพิ่มแมกนีเซียม (เอาไว้ต่อสู้กับอาการปวด) และแคลเซียมเพื่อช่วยปรับระดับฮอร์โมน
2. การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน เช่น ยากลุ่ม NSAID (ควรให้ยาก่อนการมีประจำเดือน 7 ~ 10 วัน)
3. ใช้ฮอร์โมนเพื่อรักษาความผิดปกติของประจำเดือน
4. การใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งมีส่วนประกอบคือ estrogen และ progesterone (มีผลข้างเคียง)
5. การใช้สมุนไพร อย่างเช่น ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูกกับการปวดประจำเดือน

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของว่านชักมดลูก

– มีสารออกฤทธิ์ลดการอักเสบ
– ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ
– แก้ปวด
– มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน

สรรพคุณ ว่านชักมดลูก ของไทย

– กระชับกล้ามเนื้อ
– แก้ปวดประจำเดือน
– แก้ประเดือนมาไม่ปกติ
– เสริมหน้าอก
– มดลูกพิการ
– ใช้แทนการอยู่ไฟ

ถึงแม้ว่าว่านชักมดลูกจะมีสรรพคุณหรือฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เป็นประโยชน์ มากมายก็จริง แต่ในความเป็นจริงแล้วการที่จะใช้ว่านชักมดลูกในการแก้ปัญหาการปวดประจำ เดือนให้ได้ผลนั้น ต้องอาศัยการปรุงเป็นสูตร โดยใช้    สมุนไพรอื่นๆหลายชนิดร่วมกับว่านชักมดลูก ซึ่งผู้ผูกตำรับต้องมีความชำนาญเป็นอย่างมาก

หมอเส็งเป็นบุคคลท่านหนึ่งที่มีประสบการณ์ทางด้านการปรุงยาสมุนไพรมาเป็น เวลามากกว่า 40 ปี ยาที่ท่านได้สร้างสรรค์มาและช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องการปวดประจำเดือนได้ ได้แก่

ยาสตรีหลังคลอด
ยาน้ำว่านชักมดลูกสูตร 1
– ยาน้ำว่านชักมดลูกสูตร 2
– ยาน้ำว่านชักมดลูกสูตร 111

พิสูจน์ด้วยตัวคุณเอง ! ดีที่สุด